หน่วยงานมีหน้าที่บริหารจัดการ อำนวยความสะดวกในการทำงานวิจัย ให้กับนักวิจัยในสังกัด ก่อให้เกิดความหลากหลายของงานวิจัย ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวใจสำคัญของธุรกิจ คือปริมาณข้อมูลที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์ที่รวดเร็วทันที ข้อมูลเหล่านั้นล้วนเกิดจากผลงานการวิจัยที่มีทั้งคุณภาพ และปริมาณ ระบบสืบค้นข้อมูลงานวิจัย จึงเป็นระบบเพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่มีประโยชน์เหล่านั้น สามารถนำไปต่อยอดได้ในหลากหลายมิติ สร้างความหลากหลายของงานวิจัย

แนะนำระบบสืบค้นข้อมูลงานวิจัย

ระบบสืบค้นข้อมูลงานวิจัย เป็นระบบเพื่อการสืบค้น แสดงงานวิจัย ข้อมูลนักวิจัย โดยมีระบบการค้นหา keyword ตามที่ต้องการ ผู้ใช้งานสามารถเลือกการแสดงผลตามหมวดหมู่ที่สอดคล้องกับ Keyword นั้น ๆ เช่น ค้นหาคำว่า “ข้าว” ­ผู้ใช้งาน สามารถเลือกผลการค้นหา ตามหมวดหมู่(Category) บนเมนูบาร์

System Overview

แผนภาพดังกล่าว แสดงการทำงานโดยรวมของระบบ ดังนี้

การรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ Full Text Search จากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลนักวิจัย ข้อมูลสร้างสรรค์งานวิจัย และข้อมูลงานวิจัย ระบบจัดทำข้อมูลดัชนี (Index) เพื่อการค้นหาข้อมูลและระบบที่เกี่ยวข้อง นำเข้าข้อมูลดัชนีสู่ระบบ ระบบสืบค้นและตามหาข้อมูลที่รวบรวมไว้ (Searching and Browsing)

กระบวนการทำงานของระบบ

1. ระบบข้อมูลดัชนี (Index) เพื่อการค้นหาข้อมูลในระบบ 2. ระบบ Full Text Search สำหรับสืบค้นข้อมูลที่ได้จากระบบข้อมูลดัชนี (Index) 3. ระบบสืบค้น 3.1 รองรับได้ 2 ภาษา (ไทยและอังกฤษ) โดยแสดงผลการสืบค้นตามข้อมูลต้นทาง 3.2 สืบค้นจากข้อมูลที่ได้จากการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ร่วมกันจากระบบบริหารจัดการงานวิจัย (ARM) และระบบเผยแพร่และสร้างสรรค์งานวิจัย 3.3 ข้อมูลที่สามารถทำการสืบค้นได้ในระบบสืบค้นข้อมูลงานวิจัย ประกอบด้วย ชื่อโครงการวิจัย ข้อมูลนักวิจัย บทคัดย่อ (Abstract) รางวัล ทรัพย์สินทางปัญญา/สิทธิบัตร การนำไปใช้ประโยชน์ บทความตีพิมพ์ หน่วยงานที่สังกัด ข้อมูลอื่นๆในระบบเผยแพร่ Community Network เป็นความสัมพันธ์ในเครือข่ายของแต่ละบุคคล คือ ความสัมพันธ์ในเรื่องของโครงการ ความสัมพันธ์ในเรื่องของบทความ จับความสัมพันธ์กันด้วยเลขประจำตัวประชาชน และหน้าจอสำหรับแสดงข้อมูลอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลที่สืบค้น 4. ระบบการจัดเก็บประวัติและจัด Ranking ในการค้นหา และเข้าชมข้อมูล เพื่อแสดงสถิติในการเข้าชมและค้นหา 4.1 เพื่อรวบรวมข้อมูลเป็นสถิติของคำที่ได้สืบค้นแสดงในรูปแบบ Tag cloud ที่กำหนดด้วยขนาดและสีที่แตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ Tag Cloud แสดงคำที่ได้รับการสืบค้นทั่วไป Tag Cloud แสดงความถี่ของคำที่ปรากฏอยู่ในแต่ละเรื่อง 4.2 ประวัติการเข้าเยี่ยมชมเพื่อจัด Ranking ปริมาณผู้ชมในแต่ละหมวดหมู่ (Category) 5. การเชื่อมโยงข้อมูล มีระบบเชื่อมต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ เพื่อจะนำข้อมูลมาใช้ร่วมกัน ได้แก่ ระบบบริหารจัดการงานวิจัย (ARM) ระบบฐานข้อมูลงานเผยแพร่และงานสร้างสรรค์งานวิจัย เพื่อการนำข้อมูลเข้า ใช้สืบค้นและดูข้อมูล (Search/Browse) ผ่านระบบสืบค้นข้อมูลงานวิจัยได้ คุณประโยชน์ของระบบ เปิดโอกาสให้บุคคลที่สนใจสามารถสืบค้น หาข้อมูลได้ในหลากหลายมิติ เช่น ค้นหาด้วยชื่อนักวิจัย งานวิจัย เป็นต้น โดยผลการค้นหานั้น มีการแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ (Category) ที่สอดคล้องกับ keyword นั้น ๆ แต่ละหน้าสามารถอ้างอิงด้วย URL เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่สนใจโดยตรงได้ มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเช่น บุคคลหรืองานวิจัยที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันได้ มีช่องทางเผยแพร่ผลงานและนักวิจัยไปสู่สาธารณะในลักษณะ Social network ได้ มีการจัดอันดับความนิยม (Ranking) ในการสืบค้นหรือเข้าเยี่ยมชมข้อมูล เพื่อให้เป็นช่องทางลัดในการแนะนำข้อมูลให้แก่ผู้เยี่ยมชม สามารถนำผลไปวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ และเลือกแนวงานวิจัยที่อยู่ภายใต้ความสนใจได้ต่อไปในอนาคต เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถแสดงความคิดเห็นต่อข้อมูลที่สนใจได้ แสดงผลงานวิจัย ในรูปแบบกราฟิกที่สวยงามและเข้าใจง่าย ด้วยกราฟต่าง ๆ สามารถเพิ่มมูลค่างานวิจัย (Value Added) แก่ผู้ที่สนใจหรือมองเห็นโอกาสในการนำงานวิจัยต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ หรือสร้างประโยชน์แก่สังคม ซึ่งจะมีบทคัดย่อ (Abstract) มีคลิปวีดีโอผลงานวิจัย วีดีดโอผลงานเผยแพร่ หรืออื่นๆ เพื่อสามารถศึกษาแนวทางและเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมนำมาสู่การตัดสินใจนำไปต่อยอดได้ หรือนำไปศึกษาต่อและนำไปใช้เป็นแนวทางธุรกิจต่อไป รองรับการทำงานทั้งภาษาไทยและอังกฤษ